วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงงานวิทยาศาสตร์ ปวช2/4 เกล็ดน้ำตาลจากใบเตย


โครงงานวิทยาศาสตร์

1.               ชื่อโครงงาน

เกล็ดน้ำตาลใบเตย

2.               ชื่อผู้ทำโครงงาน

นางสาว     สุภาวดี      ปานสัสดี

นางสาว     กัลยาณี     นิจเนตร

นางสาว     จุรีพร        จงจิรพงษ์

 

3.               ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์    จิตสถา     เตชะทวีกุล

 

4.               บทคัดย่อ

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เกล็ดน้ำตาลใบเตย เกิดขึ้นจาก การต้องการที่จะผลิตเกล็ดน้ำตาลที่มี  กลิ่น ของใบเตยขึ้นมาให้เกิดความแปลกใหม่ จากประสบการณ์ของผู้จัดทำโครงการและความรู้ทางปัญญา ชาวบ้านพบว่า ใบเตยสามารถให้กลิ่นที่หอมของใบเตยมีสรรพคุณที่น่าสนใจมากกว่า สามารถใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยดิบกระหาย เป็นต้น และใบเตยยังเป็นพืชสมุนไพรไทยที่สามารถหาได้ง่ายอีกด้วย

 

5.               ที่มาและความสำคัญ

 น้ำตาลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการประกอบอาหารในปัจจุบันโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ชอบทำกาแฟ ทาน                ขนม หรือของหวานที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ แต่น้ำตาลส่วนใหญ่ที่ใช่รับประทานจะเป็นน้ำตาลทรายธรรมดา กลุ่มของดิฉันจึงได้จัดทำ เกล็ดน้ำตาลใบเตบขึ้นมาเพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับผู้ที่ชอบรับประทานน้ำตาล โดยใบเตยจะให้ กลิ่น และ รสชาติที่น่ารับประทานมากกว่าน้ำตาลทรายธรรมดา และเพื่อเพิ่มคุณค่า และ ประโยชน์ของน้ำตาลให้มากยิ่งขึ้น

 

6.               วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาว่าใบเตยสามารถให้  กลิ่น และรสชาติที่ดีกว่าน้ำตาลทรายธรรมดา

 

7.               ขอบเขตของการศึกษา

1.                ศึกษาประโยชน์ของใบเตย

2.                ศึกษาวิธีการตกผลึกของน้ำตาล

 

 

8.               สมมุติฐานของการศึกษา

ใบเตยสามารถให้ กลิ่น ที่เป็นสีธรรมดาและสามารถเพิ่มคุณค่าของน้ำตาลได้ดีกว่าน้ำตาลธรรมดา

           ตัวแปร

ตัวแปรต้น                     ใบเตย+ น้ำตาล

ตัวแปรตาม                   กลิ่น รสชาติ

ตัวแปรควบคุม             ระยะเวลาในการตกผลึก  น้ำตาล 4 ถ้วย ต่อ น้ำใบเตย ½ ถ้วย

 

9.               วิธีการดำเนินงาน

            วัสดุ-อุปกรณ์

น้ำตาลทราย 4 ถ้วย

1.                น้ำใบเตย      1 ถ้วย

2.                โกแก้ว       

3.                ไม้ไอติม

4.                เชือก

       วิธีการทำเกล็ดน้ำตาลใบเตย

         ต้มน้ำใบเตยในหม้อ

   

               ต้มน้ำใบเเตยหม้อแล้วใส่น้ำตาลทราย 2 ถ้วยในน้ำที่ต้มคนให้ละลาย ต้มน้ำใบเตยในหม้อ
 
 
 

                ยกน้ำเชื่อมลงจากเตา คนจนกว่าส่วนผสมจะค่อยๆ เย็นลง
 
 
         .              ใส่น้ำเชื่อมลงในโถแก้วให้เต็ม แต่ก่อนใส่อย่าลืมล้างขวดแก้วให้สะอาดก่อน
                               ผูกเชือกไว้ที่ไม้ไอติมปลายเชือกอีกด้านให้ยาวเท่ากับขวดแก้ว
              ห้อยปลายเชือกลงไปในขวดแก้ว (ที่ใส่น้ำเชื่อม ใบเตย) ให้ไม้ไอติมวางค้างไว้ที่ปากขวด
           แล้วนั่งรออย่าให้ขวดขยับ   เกล็ดน้ำตาลจะเกิดขึ้นเอง

           ผ่านไปซักวันหนึ่งจะเห็นว่ามีเกล็ดน้ำตาลเกิดขึ้นแล้ว ถ้าทิ้งไว้นาน มันยิ่งเยอะขึ้น แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
                เมื่อแห้งแล้ว แกะเอามาแต่น้ำตาล เอามาบดให้แตกจนเป็นเกล็ดน้ำตาลเล็ก




 10 .ผลการศึกษาค้นคว้า

น้ำตาลทรายธรรมดาจะหาง่าย แต่เมื่อนำน้ำตาลทรายไปละลายกับน้ำใบเตย จะได้สีเขียวธรรมชาติ และกลิ่นหอมของใบเตยและ สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาหาร

 
11. ระยะเวลาในการปฎิบัติงาน

                    21-28 สิงหาคม 2555
12. สรุปผลการทดลอง

            เกล็ดน้ำตาลทรายขั้นตอนการทำไม่ยาก และวัตถุดิบสามารถหาได้ง่าย อย่างน้ำตาลและใบเตยก็สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้ และยังเป้นการนำสมุนไพรจากท้องถิ่น ขิงเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายของวิทยาศาสตร์

ความหมายของวิทยาศาสตร์





วิทยาศาสตร์ (Science) มาจากภาษาลาตินว่า Scientia” แปลว่า “ความรู้ทั่วไป” ซึ่งเป็นความหมายที่กว้างมากที่ใช้ในอดีต (สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ, 2542 : 2-3) เนื่องจากในอดีตยังไม่มีการค้นพบความรู้มากมายเหมือนในปัจจุบัน  ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงมีความหมายในลักษณะที่ครอบคลุมความรู้ทั้งหมดของมนุษย์  ต่อมาเมื่อมนุษย์มีการค้นพบความรู้มากขึ้นและได้พิสูจน์ความรู้ต่างๆ   สิ่งใดเป็นจริงจะได้รับการยอมรับ ส่วนสิ่งใดไม่จริงก็จะถูกปฏิเสธ  ทำให้ความหมายของคำว่าวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน เช่น ภพ เลาหไพบูลย์ (2540: 2)  ได้สรุปความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า “วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
           
สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ (2542 : 2-3) ได้ให้ความหมายไว้ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง เป็นความจริง ซึ่งความรู้ดังกล่าวได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือจากการทดลอง โดยเริ่มต้นจากการสังเกต การตั้งสมมติฐาน การทดลองอย่างมีแบบแผน แล้วจึงสรุปเป็นทฤษฏีหรือกฎขึ้น แล้วนำแล้วนำทฤษฏีหรือกฎที่ได้ไปใช้ศึกษาหาความรู้ต่อไปเรื่อยๆ

             พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 1075) ได้ให้ความหมายว่า“วิทยาศาสตร์  คือ ความรู้ที่ได้โดยการสังเกต และค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ”

             โดยสรุป “วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่”